การอนุบาลและการป้อนอาหารลูกนกฟอพัส
นานมาแล้วที่เราคาดการณ์ว่าความชื้นที่สามารถฟักไข่ได้สำเร็จอยู่ที่ 50% .แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปความชื้นยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ สายพันธุ์ที่ต่างกันไปของนก ดังนั้นเราจึงยึดหลักว่าช่วงความชื้นที่สามารถฟักได้ดีคือ 38%-52% ต่างกันไปตามแต่ละนักเพาะพันธุ์จะใช้กัน(ความชื้นปรับขึ้นลงได้ตามน้ำหนักไข่ที่ต้องลดลงอย่างถูกต้อง) ความชื้นที่ถูกต้องต้องทำให้น้ำหนักไข่ลดลงตามเกณฑ์มาตรฐานของแต่ละสายพันธุ์ โดยน้ำหนักไข่ที่ลดลงเกิดจาก น้ำในไข่ที่ระเหยออกตามรูของเปลือกไข่
การเพิ่มความร้อนส่งผลให้ลูกนกฟักตัวเร็วกว่าเพราะความร้อนส่งผลให้น้ำในไข่ลดลงเร็วกว่านั่นเองและถ้าเราใช้ความร้อนในการฟักสูงขึ้นความชื้นสัมพัสก็ควรจะลดลงตามความร้อนที่เพิ่มขึ้นเพื่อทำให้น้ำในไข่ลดลงได้ตามเป้าหมายและในทางกลับกันการลดอุณหภูมิในการกกไข่ลงทำให้ไข่ฟักตัวช้าลงและก็ควรเพิ่มความชื้นสัมพัสให้มากขึ้นเพื่อทำให้น้ำในไข่ระเหยออกช้าลง.
จากประสพการณ์ในเรื่องของความชื้นที่แตกต่างกันภายใต้สภาวะแวดล้อมเดียวกันนั้น ไข่ใบใหญ่ฟักสำเร็จในช่วงความชื้นที่ต่ำกว่า 38%-45% และไข่ที่เล็กจะฟักได้ดีกว่าในช่วงความชื้นที่สูงขึ้น 46%-52%
ตอนนี้จากข้อมูลและประสพการณ์จากผู้ที่ประสพความสำเร็จเราใช้ความชื้นสำหรับ ไข่ของ Macaw และ Amazon อยู่ที่ 38%-42% .สำหรับไข่ของ conure นั้นเราพบว่ามันจะสูญเสียน้ำในไข่เร็วและบางครั้งตัวที่ฟักออกมาก็ตายเนื่องจากการขาดน้ำ สำหรับนกในตระกูล conure เราจะใช้ความชื้นที่ 48%-52% เนื่องจากนกใหญ่สร้างเปลือกหนากว่านกเล็กดังนั้นเปลือกที่หนาทำให้น้ำระบายออกได้ยากกว่าจึงส่งผลให้ความชื้นที่ต้องใช้ต่ำกว่า.
หัวใจสำคัญของการฟักไข่อันต่อมาคือการกลับไข่ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอยู่และนักเพาะพันธุ์ก็ยังคงถกเถียงกันถคงเรื่องการกลับไข่ จากงานวิจัยบอกไว้ว่าสัตว์ปีกต้องการการกลับไข่ 12-24 ครั้ง ต่อ วัน สำหรับนักเพาะพันธุ์หลายๆคนนวมถึงข้อมูลบางแหล่งก็บอกว่ากลับไข่วันละ 4-8 ครั้งก็เพียงพอแล้วสำหรับการกกไข่ จากประสพการณ์ของผู้รู้และงานวิจัยบางชิ้น การกลับไข่ 6 ครั้งต่อวันแทนที่จะเป็น 12 หรือ 24 ครั้งต่อวันพบว่าไข่ มีเส้นเลือครอบคลุมจากตัวอ่อนเป็นบริเวณกว้างกว่าแลัลงลึกถึงก้นไข่(ที่เป็นด้านแหลมมากกว่า)ทำมห้ความสามารถในการฟักตัวมีมากขึ้น
ในธรรมชาตินกถูกฝักโดยปราศจากการสั่นใดๆ เราใช้เครื่องฟักนั้นมีการสั่นจากมอเตอร์ จากอุปกรณ์ต่างๆซึ่งเป็นผลเสียต่อเสิ้นเลือดภายในไข่ สิ่งที่ควรทำคือเราต้องควบคุมการสั่นให้เกิดน้อยที่สุด โต๊ะที่แข็งแรงมั่นคง หรือจะวางไว้กับพื้นเลยก็ได้แต่ต้องระวังเด็กเล็กกับสัตว์เลี้ยงของท่าน
จุดสังเกตุในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้คือ “การที่น้ำในไข่ลดลงอย่างรวดเร็ว” นั่นคือช่องอากาศที่ใหญ่ขึ้นช่องอากาศรูปวงกลมจะกลายเปนวงรีถึงตอนนี้นักเพาะพันธุ์จะนำไปไว้ในเครื่องฟักที่มีความชื้นสูงขึ้นและอุณหภูมิต่ำลง(hatcher) หรือยางคนรอให้เกิดรอยแฝเจาะเล็กๆแรกก่อน (first pip) ต้องหยุดกลับไข่ ความชื้นที่เพิ่มขึ้นช่วยให้เปลือกไข่แข็งน้อยลงและลูกนกเจาะออกมาได้ง่ายขึ้น ระยะเวลาจากที่น้ำบดอย่างรวดเร็วจนฟัก จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน
เขียนและเรียบเรียงโดย : Rathakij farm